ประเภทของเค้ก
เค้ก ( Cake) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งสาลี น้ำตาล เกลือ และผงฟู ไขมัน นม ไข่ และอื่นๆ ซึ่งเมื่อนำมาผสมรวมกันแล้วจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ที่มีเนื้อนุ่ม ละเอียด เบา และมีกลิ่นหอมค่ะ ขนมเค้ก เราสามารถแบ่งออกตามคุณภาพของส่วนผสม แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
เค้กที่มีไขมันเป็นส่วนผสมหลัก (Batter type cake ) มีแป้ง นม และไข่ เป็นโครงสร้าง โดยส่วนผสมที่ได้ (batter) จะมีลักษณะเป็น emulsion ระหว่างไขมันและของเหลว ปริมาตรของเค้ก ขึ้นฟู ด้วยการตีครีม และผงฟู เนื้อเค้ก มีความนุ่มแน่น ละเอียดสม่ำเสมอ ตัวอย่าง เช่น เค้กเนย เค้กปอนด์ เค้กผลไม้
เค้กที่มีไข่เป็นส่วนผสมหลัก (Foam type cake ) โครงสร้างของเค้กเกิดจากแป้งและไข่ อาจมีหรือไม่มีไขมันเป็นส่วนผสม เป็นเค้กที่มีเนื้อฟูนุ่ม การขึ้นฟูและการขยายตัวขึ้นอยู่กับฟองอากาศในขณะตีไข่ สามารถแบ่งย่อยได้ออกเป็น 2 ชนิดค่ะ ได้แก่ 1) เค้กเมอแรงค์ และ 2) เค้กสปันจ์
ชิฟฟอนเค้ก (Chiffon type cake) จัดเป็นเค้กที่มีส่วนผสมระหว่าง Batteer type cake และ Foam type cake โดยจะมีการขึ้นฟูจากผงฟูส่วนหนึ่ง และจากการตีไข่ขาวอีกส่วนค่ะ เค้กชนิดนี้จะมีเนื้อนุ่ม เบานวล เบา และมีความมันเงาด้วย
เขียนโดย aroi-bakery
ประวัติของขนมเค้ก
“ขนมเค้ก” (cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีรสหวานและผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้ง น้ำตาล และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไข่ ผัก และผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย ชีส ยีสต์ นม เป็นต้น และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน ซึ่งในโลกมีตำรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนล้านๆ สูตร ขนมเค้กมีหลากหลายชนิด อาทิ ชีสเค้ก ฟรุตเค้ก แพนเค้ก เค้กเนยสด และแยมโรล เป็นต้น
ขนมเค้ก มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) มาจากคำว่า “kaka” ประวัติเริ่มจากปี ค.ศ. 1843 นักเคมีชาวอังกฤษชื่อ อัลเฟรดเบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878) ได้ค้นพบ “ผงฟู” (baking powder) ขึ้น ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ได้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้เนื่องมาจากภรรยาของเขา (Elizabeth) เป็นโรคภูมิแพ้อาหารที่มีส่วนผสมของไข่และยีสต์
สำหรับประวัติขนมเค้กในประเทศไทยนั้น ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2480 ขนมเค้กยังไม่เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปมากนัก จะมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับอารยธรรมตะวันตกหรือใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจ โดยร้านเบเกอรี่ (bakery) ในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่มากนัก ร้านที่เป็นที่รู้จักย่านถนนเจริญกรุงคือร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทำธุรกิจกับต่างประเทศ และการท่องเที่ยวมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภค ขนมเค้ก ขนมปัง เพสตรี้ เพื่อบริการแก่ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธุรกิจเบเกอรี่ หรือขนมเค้ก ขนมปัง ขนมคุ๊กกี้ จึงขยายตัวและเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ก่อนที่จะมาเป็นขนมเค้ก
ประวัติเริ่มจากปี 1843 คุณอัลเฟรด เบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878) นักเคมีชาวอังกฤษได้ค้นพบ “ผงฟู” หรือ “baking powder” ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ให้กับภรรยาของเขา อลิซาเบธ (Elizabeth) ได้เป็นครั้งแรกเนื่องจากภรรยาของเขาเป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับ ไข่ และ ยีสต์
ในราวศตวรรษที่ 13 มีการค้นพบหลักฐานการอบขนมเค้กขั้นแอดวานซ์ที่เก่าแก่ที่สุดจากชาวอียิปต์ โบราณโดยมักจะเป็นรสชาติของเค้กผลไม้ และGinger bread รูปแบบเค้กทรงกลมที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เริ่มราวกลางศตวรรษที่ 17 ในยุโรป ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของเตาอบ แบบพิมพ์ขนมและน้ำตาลทราย รสชาติที่นิยมก็ยังเป็นรสผลไม้
ย้อนหลังจากวันนี้ไปประมาณ 60 ปี ธุรกิจขนมอบในเมืองไทยไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน จนไม่อาจเรียกว่าเป็นธุรกิจได้ ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ก็ไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไป จะมีก็เพียงคนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับอารยธรรมตะวันตกมาก่อน และผู้ที่มีความใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยที่ รู้จักขนมอบ และมีร้านขนมอบเพียงไม่กี่ร้าน เพราะธุรกิจขนมอบในสมัยนั้นแคบมาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ต่อมาคนไทยโดย เฉพาะคนกรุงเทพฯ เริ่มรู้จักขนมอบมากขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาเมืองไทยทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจโรงแรมขยายตัว จึงต้องผลิตอาหารประเภทขนมอบชนิดต่าง ๆ ขึ้นเช่นขนมปัง เค้ก เพสตรี้เพื่อบริการลูกค้าชาวต่างประเทศที่ไม่คุ้นเคยอาหารไทย และนอกจากจะผลิตเพื่อบริการลูกค้าแล้ว โรงแรมยังมีบริการรับจัดเลี้ยงให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีการจัดประชุมสัมมนา งานพิธีมงคลสมรส งานวันเกิด และการจัดเลี้ยงสังสรรค์ ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ขนมอบจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก็มีร้านเบเกอรี่ที่ผลิตขนมปัง ขนมเค้ก ขนมต่าง ๆ ออกขาย ธุรกิจขนมอบเริ่มจัดว่าเป็นธุรกิจได้เมื่อสมัยสงครามเวียดนาม ประมาณ 30 กว่าปีมาแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นที่พักของทหารอเมริกัน ช่วงนั้นกิจการขนมอบเริ่มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากความต้องการอาหารประเภทนี้สูง จนถึงกับมีผู้คิดโรงโม่แป้งสาลีขึ้นในประเทศไทย และต่อมามีโรงโม่แป้งสาลีเพิ่มขึ้นอีก 23 แห่งแต่ละโรงโม่ก็ผลิตแป้งสาลียี่ห้อต่าง ๆ ออกจำหน่ายพร้อมกับมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ จัดการฝึกอบรมแนะนำลูกค้าผู้ใช้แป้งสาลีและผู้ประกอบกิจการขนมอบซึ่งมี ปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้สามารถนำแป้งไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความถูกต้อง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แป้งสาลีเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อสงคราม เวียดนามสิ้นสุดลง ธุรกิจขนมอบก็ยังดำเนินต่อไป และขยายตัวเพิ่มมากขึ้น คนไทยเริ่มบริโภคขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ พาย พัฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้น นักธุรกิจหลายรายเริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบเข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทย มากขึ้น
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนของเอกชน ที่เปิดสอนด้านขนมอบ ได้ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมอบมากขึ้น พร้อมกับมีตำราการฝึกปฏิบัติทำขนมอบ มีประชาชนให้ความสนใจมาฝึกอบรมรับความรู้ เพื่อไปประกอบเป็นอาชีพ หรือทำบริโภคเองภายในครอบครัว
ที่มาของขนมเค้กในวันเกิด
จากการสำรวจข้อมูลทางประวัติศาสตร์แล้วพบว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของธรรมเนียมการใช้เค้กเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการฉลอง วันเกิดนั้นมีด้วยกันหลากหลายทฤษฎี บางคนเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อาหารเชื่อว่า เค้กวันเกิดมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว เนื่องจากคนสมัยก่อนชอบทำขนมอบจำพวกขนมเค้กและขนมปังเพื่อใช้บูชาในงาน พิธีกรรมทางศาสนา งานแต่งงาน งานศพ รวมถึงงานวันเกิดด้วยในขณะที่บางคนเชื่อว่าเริ่มขึ้นในยุคกลาง (middle Ages)
ในสมัยกรีกมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตำนานเค้กวันเกิดระบุเอาไว้ว่าเป็นขนมหวานสำหรับบูชาเทพีจันทรา โดยชาวเมืองกรีกนิยมทำเค้กน้ำผึ้งหรือขนมปังหวานรูปวงกลมเพื่อนำไปบูชาเทพจันทราที่วิหารอาร์เทอมิส
ขณะที่นักทฤษฎีบางสำนักเชื่อว่า จุดเริ่มต้นของเค้กวันเกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนีช่วงยุคกลาง ซึ่งเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของศาสนาคริสต์ โดยชาวคริสต์จะทำขนมปังหวานเป็นรูปพระเยซูทรงอยู่ในผ้าห่อตัวในประสูติ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์
ในเวลาต่อมา ชาวเมืองเบียร์ก็เลยได้ไอเดียใหม่ๆ ทำเค้กเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่เด็กๆและจากนั้นมา ธรรมเนียมเช่นนี้ก็ถูกปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมา จวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้..ทั้งนี้ ไม่ว่าเค้กวันเกิดจะเกิดขึ้นจากทฤษฎีใดก็ตาม จะสังเกตได้ว่าจุดเริ่มต้นก็ล้วนมาจากทางฝั่งยุโรปทั้งสิ้น ดังนั้น จึงอาจจะสรุปได้ว่าธรรมเนียมการเป่าเค้กวันเกิดเริ่มต้นจากฝั่งตะวันตก..
Credit : http://www.gggcomputer.com/6071
http://std.kku.ac.th/5230201646/khanom%2003.html
http://mememycake.blogspot.com/2011/08/blog-post.html