top of page

ประวัติและความเป็นมาของกาแฟ (Coffee History)

ประวัติความเป็นมาของกาแฟในโลก

กาแฟ โดยแหล่งกำเนิดแล้วเป็นพืชพื้นเมืองของอาบีซีเนีย (Abyssinia) และอาราเบีย (Arabia) ถูกค้นพบในศตวรรษที่ 6 ราวปี ค.ศ. 575 ในประเทศอาระเบีย (Arabia) และในขณะเดียวกันบางท่านก็กล่าวว่ากาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัพฟา (Kaffa) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia) กาแฟจึงได้ชื่อเรียกตามจังหวัดนี้ และยังได้เรียกแตกต่างกันออกไปอีกมาก แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศอาราเบียน หรือประเทศอาหรับ ตะวันออกกลาง สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนักจนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบียคนหนึ่งชื่อ คาลดี (Kaldi) นำแพะออกไปเลี้ยงตามปกติ แพะได้กินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งเข้าไปแล้วเกิดความคึกคะนองผิดปกติ จึงได้นำเรื่องไปเล่าให้พระImageมุสลิม องค์หนึ่งฟัง พระองค์นั้นจึงได้นำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มใน น้ำร้อนดื่มเห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟแพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบีย เข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส



ชาว อาระเบียเรียกพืชนี้ว่า “คะวาฮ์” (Kawah) หรือ “คะเวฮ์” (Kaweh) ซึ่งแปลว่าพลัง (strength) หรือความกระปรี้กระเปร่า (vigor) ชาวตุรกีเรียกว่า “คะเวฮ์” (Kaveh) ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆของโลก เช่น คัฟฟี (Koffee) ในอังกฤษเรียกว่า “คอฟฟี” (coffee) อันเป็นชื่อที่รู้จักและใช้ในปัจจุบันนี้ เมื่อมาถึงประเทศไทยคนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุดImage



ประวัติความเป็นมาของกาแฟในประเทศไทย

เมื่อ ทราบประวัติความเป็นมาของกาแฟในโลก ก็ควรจะได้รับทราบถึงความเป็นมาของกาแฟในประเทศไทยเราบ้าง กาแฟ ข้าวแฝ่ โกปี๊ หรือ ค้อฟฟี่ ตลอดจนค้อฟฟี่ช้อป (coffee shop) และคาเฟ่ (Café) เป็นภาษาที่คุ้นหูและคุ้นเคยกับคนไทยมากพอสมควรในปัจจุบันนี้


กาแฟใน ประเทศไทยมีต้นกำเนิดจากที่คนไทยผู้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามคนหนึ่ง ชื่อนายดีหมุน ได้มีโอกาสไปแสวงบุญ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้นำเมล็ดพันธุ์กาแฟมาเพาะปลูกที่บ้าน คือ ต.บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ในปี พ.ศ. 2447 กาแฟที่นำมาปรากฏว่าเป็นพันธุ์โรบัสต้าการปลูกได้ผลดีพอสมควร จากนั้นจึงได้มีการขยายพันธุ์และมีการส่งเสริมการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้านี้ ออกไปอย่างกว้างขวางในภาคใต้ของประเทศwทย โดยส่งเสริมเป็นพืชปลูกสลับในสวนยางเป็นรายได้สำรองจากการกรีดยาง ปัจจุบันการปลูกกาแฟในภาคใต้ได้มีการพัฒนาการอย่างมากมายสามารถปลูกเป็นพืช หลักและทำรายได้ให้เกษตรกรเป็นอย่างดี พื้นที่ปลูกทั้งสิ้นประมาณ 147,647 ไร่


สำหรับกาแฟพันธุ์อาราบิก้า (C. Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟพันธุ์หลักและมีผลผลิตประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของโลกนั้น ได้ถูกนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ. 2493 ทั้งนี้ตามบันทึกของพระสารศาสตร์พลขันธ์ ซึ่งเป็นชาวอิตาลี


ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 โครงการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาเศรษฐกิจชาวไทยภูเขา ไทย/สหประชาชาติ ได้เริ่มโครงการทดลองทำการเกษตรหลายชนิด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการค้นหาพันธุ์พืชและสัตว์ มาทดแทนการปลูกและผลิตยาเสพย์ติดฝิ่นของชาวไทยภูเขา และเพื่อทำการพัฒนาเศรษฐกิจของชาวไทยภูเขาอีกด้วย และต่อมาในปี พ.ศ. 2520 โครงการได้ขยายเวลาการดำเนินการต่อไปอีก 5 ปี โดยเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการปลูกพืชทดแทนและการตลาดที่สูง ทั้งนี้เป็นผลจากการทดลองใช้พืชหลายชนิดในการปลูกทดแทนฝิ่นซึ่งได้ผลดี ทำให้พื้นที่และปริมาณการผลิตฝิ่นลดลงไปมาก ในการส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่นนี้ กาแฟพันธุ์อาราบิก้าเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นความหวังในการทด แทนฝิ่นและสามารถทำรายได้แก่เกษตรกรชาวเขาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากสภาพความเหมาะสมของพื้นที่สูงและความต้องการในตลาดยังมี อยู่มากนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง
การ ปลูกและผลิตกาแฟอาราบิก้าบนที่สูง (Highland Arabica Coffee Production) ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมื่อเกิดอยากดื่มกาแฟกับขนมอบ

มาลองทำความคุ้นเคยกับคำศัพท์เกี่ยวกับชนิดของกาแฟทั่วๆไปก่อนดีกว่า เรียงลำดับตามความเข้มของกาแฟ

Espresso : จุดเริ่มต้นของกาแฟทุกๆแก้ว คือกาแฟที่ชงด้วยเครื่อง espresso ทำเป็น shot(หนึ่งshotเป็นแก้วเล็กๆ) สามารถระบุได้ว่าต้องการกี่ shot มือใหม่ส่วนใหญ่พลาดตกม้าตายกับเมนูนี้ เนื่องจากคุ้นชื่อมากที่สุด เวลาสั่งจึงสั่งแก้วนี้โดยหารู้ไม่ว่ามันคือกาแฟเข้มข้นแบบเพียวๆแก้วเล็กๆ ส่วนมากดื่มกันตอนเช้าๆเวลาต้องการคาเฟอีนแบบด่วนๆ พนักงานส่วนใหญ่จะน่ารัก คอยเตือนเราก่อนสั่ง Espresso เสมอๆ ว่ามันคือกาแฟเพียวๆนะ!

Espresso Macchiato: คือ 1 shot ของ espresso กับฟองนมเล็กน้อย

Americano : คือ espresso ผสมกับน้ำร้อน อธิบายง่ายๆก็คือกาแฟดำตามปรกตินั่นเอง ใครนึกอะไรไม่ออกสั่ง Americano ไปก่อน รับรองความปลอดภัยมากที่สุด อยากไปเติมอะไรต่อก็ตามชอบเลย

Cappuccino : คือ espresso ผสมกับ steamed milk เล็กน้อย และเน้นฟองนมในปริมาณที่เยอะ โดยที่จำนวน shot ของกาแฟขึ้นอยู่กับขนาดของกาแฟ โดยที่ Cappuccino จะเข้มกว่า Latte

Latte : คือเครื่องดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของ espresso, steamed milk จำนวนมาก และฟองนมเล็กน้อยอยู่ด้านบน รสออกนุ่มนวล เหมาะกับคุณผู้หญิง (Latte แปลว่า นม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของแก้วนี้)

Mocha : คือเครื่องดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของ espresso, steamed milk จำนวนมากและ mocha syrup โดยทั่วไปจะใช้ dark mocha syrup ให้อารมณ์ใกล้เคียงเครื่องดื่มโกโก้รสกาแฟ กลิ่นหอมดื่มง่าย

Caramel Macchiato: คือกาแฟที่เกิดจากการผสมกันของ วานิลลา, steamed milk, espresso และฟองนม จากนั้นราดด้านบนด้วย caramel รสชาติหวานจับจิต

 

เหล่านี้คือเมนูกาแฟแบบมาตรฐานที่ร้านกาแฟทุกๆร้านจะต้องมี เพียงแต่ในบางร้านอาจมีการใช้ชื่อที่แตกต่างกันไป (ประมาณว่าให้เราสับสนเล่น เห็นหน้าลูกค้างงแล้วสะใจดี) อย่างน้อยๆถ้าคุณรู้ชื่อและส่วนประกอบหลักๆของมันไว้บ้างก็สามารถช่วยลดอาการงงแตกได้บ้างไม่มากก็น้อย

ทั้งหมดนี้ถ้าสั่งไปคุณจะได้เป็นกาแฟร้อน ถ้าอยากดื่มแบบเย็นก็แค่เพิ่มคำว่า Iced เข้าไปข้างหน้า เช่น Iced latte, Iced Americano เป็นต้น

© 2013 by Pornchai Laipanya: For Tiky"s Bakery. All rights reserved.
bottom of page